การจัดการความรู้ [Knowledge management : KM]

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554
การจัดการความรู้

(Knowledge Management : KM)


การจัดการความรู้ คือ
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร
มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้

รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

          1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit
Knowledge)
เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการ
ทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้
โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง
จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

          2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit
Knowledge)
เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลาย

ลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม


นพ.วิจารณ์ พานิช
ได้ให้ความหมายของคำว่า การจัดการความรู้ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ

เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
          1. บรรลุเป้าหมายของงาน
          2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
          3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
          4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

          การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
          (1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
          (2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
          (3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
          (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
          (5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
และสกัดขุมความรู้ออกมาบันทึกไว้
          (6) การจดบันทึกขุมความรู้และ แก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุง
เป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
           โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็น
ทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge)
และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม)
อยู่ในสมอง(เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ)
           การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดย

คนคนเดียวเนื่องจากชื่อว่า จัดการความรู้จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไป
ที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้อง
เริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน

เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า
Effectiveness
Operation
และนิยามผลสัมฤทธิ์
ออกเป็น
4 ส่วน คือ
          (1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า
สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน

และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม
          (2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้าน
ผลิตภัณฑ์หรือบริการ
          (3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น
ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ
          (4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป
การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือ
คุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการ ความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการ
ความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะ
สร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้าง
ผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน
จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่
แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน
และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย

โมเดลการจัดการความรู้ คือการนำเอากระบวนการการจัดการความรู้ มาวาด
เพื่อให้สามารถเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น
ซึ่งจะมีกระบวนการจัดการความรู้แบ่งออกเป็นขั้นตอนหรือ โมเดลการจัดการความรู้ ดังนี้

1. การกำหนดเป้าหมายความรู้
2. การสร้างหรือจัดหาความรู้
3. การกลั่นกรองและคัดเลือกความรู้
4. การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ
5. การใช้ความรู้
6. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้
7. การประยุกค์ความรู้
8. การประมวลผลและวัดผลความรู้
9. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล
10. การเผยแพร่ความรู้







ขอขอบคุณข้อมูลจาก: info.pattaya.go.th/km/.../การจัดการความรู้คืออะไ.aspx







โมเดลการจัดการความรู้, Model, KM

ผู้จัดทำ

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554
 บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการองค์ความรู้




อาจารย์ประจำวิชา
ผ.ศ.บุญญลักษม์ ตำนานจิตร





 นำเสนอโดย
G. Oriental Princess












วีดีโอ กระแสนิยม

การจัดการความรู้กระแสนิยม [KM Intrend]

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554
การจัดการความรู้ กระแสนิยม...

Domain          กระแสนิยม
CoP              กระแสนิยม                          
เป้าหมาย       การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการะแสนิยมในปัจจุบันเพื่อร่วมคิดและแก้ปัญหา
รวมไปถึงคำแนะนำต่างๆ ให้แก่บุคคลทั่วไป

ประเด็นสำคัญ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการตามกระแสนิยมมากเกินไป

ประเด็นสำคัญ/หลักการสำคัญ
(Critical Issues)
เรื่องเล่า/ตัวอย่างประสบการณ์
(Story telling/Experience
Sharing)
แหล่งข้อมูล/บุคคล
(Source/Person)
การเกิดรสนิยมในปัจจุบัน
ปัจจุบันเกิดรสนิยมแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นรสนิยมที่มาจากต่างชาติหรือตะวันตกนอกจากนี้ความทันสมัยที่เข้ามาพัฒนาทางเทคโนโลยี ทำให้คนเรามีดารพัฒนาตนเองให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นกับตนเอง เพื่อแข่งขันกับคนอื่นแม้แต่ตนเองเพื่อให้คนอื่นมองเราว่าเราดีขึ้น เป็นผลกระทบมาจากกระแสนิยม
นางสาวมาญีดะห์
อูเซ็ง
ขอเสียของการตามกระแส
ถ้าตามกระแสมากเกินไปทำให้นิสัยของเรานั้นเสียขึ้น เช่น บีบี มัวแต่คุย แชทแต่บีบี คนรอบข้างไม่คุยพ่อแม่ไม่คุย คุยแต่กับเพื่อน แฟน การแต่งตัวอีกอย่างหนึ่ง
ไม่ว่าจะแต่งตัวสไตล์เปรี้ยว หรือรัด อาจทำให้เป็นอันตรายต่อตนเองด้วยทำให้ตัวเองดูไม่ดี อีกอย่างก็คือกระแสนิยมฟุ้มเฟือยทั้งที่ฐานะตัวเองไม่ดี
ยังอยากได้แต่ของแพงๆ เทคโนโลยีแพงๆ บางทีนักศึกษาบางสถาบันยอมที่ขะขายตัวเพื่อที่จะแลกกับสิ่งของแพงๆพวกนั้นก็อยากจะฝากเพื่อนๆ ทุกคนไว้ ว่าจะทำอะไรก็ขอให้คิดให้ดีก่อน
นางสาวชนิกา
ช่อชัยพฤกษ์
การคบเพื่อน
การคบเพื่อนบางคนก็ติดเพื่อนมากเกินไป
แยกแยะเวลาไม่ถูก ไม่ยอมหันหน้าเข้าคุยกัน
นางสาวสุดาวัลย์
ผลพุฒ
ขอเสียของFacebook
ข้อเสียของFacebook มีเยอะมากมาย อย่างเช่น ใช้เวลาในการเล่นหมกหมุ่นมากเกินไป ตัวอย่างเช่น
จากคนที่เริ่มเล่นตอนตี
1 -4 ไม่ยอมหลับยอมนอน
แล้วมานั่งหลับในห้องเรียนด้วยความอ่อนเพลีย มี
NB ก็เล่นตลอดเวลาแยกเยอะไม่ถูก ยิ่งนานไม่ไม่สนใจการเรียน เวลาอาจารย์ซักถามก็มักจะอ้างว่าเรียนไม่รู้เรื่อง แต่ที่จริงแล้วเป็นเพราะตัวเองไม่สนใจการเรียนเองต่างหากซึ่งข้อนี้ทำให้เกิดการใส่ใจการเรียนลดลงอย่างรวดเร็ว
นายอรรถยา
นานกระโทก
ข้อดีของFacebook
ข้อดีของ Facebook อย่างเช่นคือ  ทำให้เราสามารถติดต่อเพื่อนเก่าๆ ที่ไม่ได้มีโอกาสได้เจอกันเป็นเวลานานและอาจจะมาโคจรพบกันเพราะ โลกออนไลน์
ต่อไปก็อาจจะมีการนัดเจอกัน ได้ไปมาหาสู่ รุ้จักที่อยู่  เบอร์โทรศัพท์หรือไม่ก็อาจจะได้ทำธุรกิจด้วยกัน
นางสาวมาญีดะห์
อูเซ็ง
เทคโนโลยี
เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนเราไม่ค่อยชอบที่จะอยู่บ้าน หาเรื่องที่จะออกมานอกบ้านได้เสมอ เช่น หาเรื่องเที่ยวห้างสรรพสินค้า เดินสวนสาธารณะ เข้าฟิตเนต อยู่นอกบ้านเป็นเวลา 3-4
ชั่วโมง ซึ้งบางครั้งอาจทำให้เสียเวลา อยู่บ้านกับครอบครัวน้อยลง
นายอานนท์
แก่นประยูร
ข้อเสียของเกม
ข้อเสียของการเล่นเกมส์ ถ้าเล่นมากเกินไป ไม่รู้จักแยกแยะเวลา  มีผลทำให้ปวดตา สายตาเสีย
อาจทำให้เกิดอยู่ในโลกของเกมส์ ไม่สนใจคนรอบข้าง  ทำให้ไม่มีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่น หรือทำได้น้อยลง
นายสุทธิพงษ์
ขัตติยะ
ข้อดีของกระแสนิยม
[ข้อดี ] กระแสนิยมตะวันตก ปัจจุบันนี้คนไทยประเภทวัยรุ่นไทย จะให้ความสนใจ เกี่ยวกับดาราโดยเฉพาะดาราเกาหลีหรือแม้กระทั่งนักร้อง ขอนี้อาจจะเป็นข้อดี ที่ทำให้คนไทยเรานั้นสามารถดูตัวอย่างที่ดีของดาราหรือนักร้องแต่ละคน รู้จักเปรียบเทียบข้อแตกต่าง
แลสามารถปรับตัวเอง ให้เป็นในแบบอย่างที่ดีอย่างนั้นได้ แต่ไม่ใช่ว่าหมกมุ่นมากเกินไป จนไม่เชื่อฟังพ่อ แม่เลย
นางสาวชนิกา
ช่อชัยพฤกษ์
ข้อเสียของกระแสนิยม
[ข้อเสีย ] คนที่เป็นแฟนคลับดาราเกาหลี ศิลปินเกาหลี คนๆ  นั้น บางทีอาจจะเยอะเกินไป สร้างความวุ่นวายไม่มีความคิด ยอมแม้กระทั่งซื้อตั๋วแพงๆ เพื่อที่จะได้เจอกับ ศินปินคนโปรดที่ชื่นชอบคนนั้นอาจทำให้ดูว่ามันเป็นสิ่งไม่เหมาะสมฟุ่มเพือยโดยไร้ประโยชน์
บางครั้งผู้ใหญ่บางคนอาจจะดูว่าเป็นเด็กประเภทไร้สาระ ฉะนั้น อยากฝากเพื่อนๆ ทุกคนที่ชื่นชอบศิลปินเกาหลี หรือมีดาราคนโปรดในดวงใจ ไว้ว่าเราก็เปนแฟนคลับพวกเขาได้ แต่ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ตัวเองเดือดร้อนหรือไม่ที่สำคัญก็คิดว่าเราเปนคนไทย ทำไมไม่สนใจ  หรือชื่นชอบศินปินคนไทยของเราให้มากกว่า
….
นางสาวชนิกา
ช่อชัยพฤกษ์